หลายทฤษฏีระบุตรงกันว่า ประเทศโครเอเชียอาจเป็นที่แรกที่ริเริ่มสวมเนคไท เล่ากันว่าเมื่อประมาณทศวรรษ 1630 หรือ 1640
ทหารรับจ้างชาวโครเอเชียได้เข้าร่วมในสงคราม 30 ปีและได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ทรงประทับใจกับเครื่องแต่งกาย
ของเหล่าทหารเป็นอย่างมากซึ่งเป็นชุดที่ประดับด้วยผ้าพันคอผืนนุ่ม ในทศวรรษ 1650 พระเจ้าหลุยส์และเหล่าข้าราชสำนักก็ได้พันผ้าพันคอ
แบบทหารโครเอเชียแทนการพันลูกไม้เต็มยศอันหรูหราซึ่งเคยนิยม
แต่ก็ยังมีอีกหลายฝ่ายที่เชื่อว่า ชาวโครเอเชียไม่ได้เป็นผู้ให้กำเนิดเนคไท โดยได้ยกตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดอันหนึ่งมาอ้างนั่นก็คือ
หุ่นดินเผากองทหารจีนขนาดเท่าคนจริงที่ถูกฝังอยู่ในสุสานของจักรพรรดิจิ๋นซี มาตั้งแต่เมื่อปี 221-202 ก่อนคริสตกาล
ซึ่งทหารมังกรแต่ละนายมีผ้าพันรอบคออยู่อย่างประณีต นอกจากนั้น บนศิลาหินอ่อนที่จารึกโดยจักรพรรดิทราจันแห่งโรมันเมื่อปี ค.ศ.113
ได้บรรยายไว้ถึงเนคไทยุคแรกๆ ซึ่งบนศิลาจารึกแท่งนั้นมีระบุถึงทหารที่สวมใส่ของประดับตรงคอถึง 3 รูปแบบ กระนั้นก็ไม่อาจสรุป
จากหลักฐานเพียงเท่านี้ได้ว่าโดยปกติแล้วนั้นทั้งผู้ชายชาวจีนและชาวโรมันสวมเนคไทกันหรือไม่
อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ถือว่าเป็น ผู้จุดกระแสนิยมให้กับเนคไทนั่นก็คือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เนคไทเริ่มแพร่ไปสู่อังกฤษ
หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษที่ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสได้กลับคืนสู่บัลลังก์พร้อมนำแฟชั่นการสวมผ้าพันคอของฝรั่งเศสกลับไปด้วย
นับแต่นั้นมาชายชาวอังกฤษก็เริ่มต้นผูกผ้าพันคอและมีการคิดค้นวิธีพันแบบต่างๆ ถึง 100 แบบด้วยกัน
สไตล์ของผ้าพันคอได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หูกระต่ายได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1840 และจากช่วง 1860 ถึง 1880
ผ้าพันคอก็แคบลงเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นเนคไทอย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้
การผูกเนคไทแบบที่นิยมกันมากจนถึงปัจจุบัน คือ แบบ four - in - hand เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1890
ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งเพราะว่าปมที่ผูกดูคล้ายกับที่คนขับรถม้าใช้เพื่อบังคับบังเหียนม้า สมัยก่อนผู้ชายอาจผูกเนคไทตามแฟชั่น
เช่นในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ชายจะแต่งกายอย่างประณีตงดงามประดับด้วยเงินหรือทองและลูกไม้ เมื่อหลายร้อยปีผ่านไป
แม้เนคไทจะเป็นมรดกที่ยังหลงเหลืออยู่ แต่การผูกไทในสมัยนี้ก็ไม่ได้หรูหราอย่างเมื่อก่อน กระนั้นแม้จะผูกเนคไทตามธรรมเนียม
เพื่อความสุภาพหรืออะไรก็ตาม แต่ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของแฟชั่นที่สามารถแต่งเติมความเก๋ไก๋ให้กับเครื่องแต่งกายของหนุ่มๆ
ได้ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่ว่าจะเป็นแบบกว้างหรือแบบยาว มีลายหรือเรียบๆ ทำจากใยสังเคราะห์หรือทำจากผ้าไหม แต่ เน็คไท
ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ อันจะขาดเสียไม่ได้ ในยามที่บรรดาคุณผู้ชายแต่งองค์ทรงเครื่อง ที่สำคัญ เน็คไท
ยังเป็นเครื่องแต่งกายหนึ่งในเพียงไม่กี่ประเภท ที่มีชีวิตอยู่รอดมาได้นานถึงเกือบ 400 ปี ท่ามกลางกระแสแฟชั่นที่เปลี่ยนไปเปลี่ยน
มาอยู่ตลอดเวลา
ในปี พ.ศ.2467 ช่างตัดเสื้อชาวอเมริกันชื่อ เจสซี แลงสดอร์ฟ ได้คิดค้น และจดลิขสิทธิ์ เน็คไท
ซึ่งผลิตขึ้นจากผ้าตัดเฉียงๆแบบเดียวกับที่เราเห็นกันชินตาอยู่ในปัจจุบัน
วิธีเลือกผูก เน็คไทด์
มีวิธีเลื่อกผุกเน็คไท ให้เหมาะสมกับขนาดเน็คไท ง่ายดังนี้
- ไทค์หน้ากว้าง 4 นิ้ว เป็นอิตาเลียนสไตล์ เหมาะกับการผูกแบบทบ หรือสองทบง่าย ๆ แล้วจะเกิดรอยบุ๋มแบบหยดน้ำ
หรือเป็นแฉกคล้ายทองหยิบ ขึ้นอยู่กับเนื้อผ้า และการกำหนดปมตอนแรก
- ไทค์หน้าแคบลงมาประมาณ 3.5 นิ้ว เหมาะกับการผูกแบบวินเซอร์ เป็นปมสามเหลี่ยมแบบอังกฤษ และแบบทบ
หรือสองทบที่เรียกว่าโฟร์อินแฮนด์ หรืออเมริกันก็ได้ แต่ถ้าผูกแบบโฟร์อินแฮนด์แล้ว ไทค์แบบอิตาเลียนจะสวยกว่า
และสำหรับงานรับปริญญาบัตร ของบัณฑิตในปีนี้มีน้องๆ บัณฑิตหลายคนที่มาสอบถามว่าจะผูกเนคไทยังไง
เพราะไม่ค่อยได้ผูกตอนเรียน อีกไม่กี่วันจะซ้อมรับปริญญาบัตรแล้ว พี่ๆ ช่วยสอนผมหน่อย
ก็เลยมานั่งนึก ๆ ดูว่า ถ้าจะสอนกับแบบตัวต่อตัว คงจะสอนกันทั้งวันแน่ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน หาวีดีโอการผูกไทด์มา
ให้ดูกันดีกว่า ว่าขั้นตอนเป็นยังไง เพราะตัวเองก็ผูกแบบเดียวตั้งแต่รับปริญญา ทำงาน และก็ออกมาทำธุรกิจส่วนตัวนี้แหละ
และ confirm ว่าแบบที่หามาให้ดูนี่และ workสุดแล้วครับ เป็นแบบที่เค้าเรียกกันว่า Four-in-Hand knot
เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุด ผูกได้เร็วที่สุดแต่ผูกออกมาแล้ว จะเบี้ยวนิด ๆ ต้องจัดสักเล็กน้อยก็จะดูดีเพราะขึ้นอยู่กับความชำนาญ
เวลาทำงานแล้วก็จะผูกได้คล่องขึ้นและสวยขึ้นตามประสพการณ์จ๊ะ
1. The Four-in-Hand Knot
ทิปเล็กน้อยสำหรับการผูกเนคไท
- เมื่อใส่ไทแล้ว ปลายไทควรจะอยู่บริเวณขอบกางเกงพอดี สั้นกว่านั้นจะดูเต่อ ๆ ถ้ายาวไป ก็ดูน่าเกลียด
- ในกรณีที่ใส่เชิ๊ตสีอ่อน สีไทควรเข้มกว่าสีของเชิ๊ต แต่ถ้าเสื้อเชิ๊ตสีเข้ม เช่นสีดำ ควรจะใส่ไทสีอ่อน เช่น สีเหลือง หรือแดง พูดง่าย ๆ
คือ ใส่ไทแล้ว สีควรจะตัดกับเชิ๊ต ไม่ควรใส่ให้สีมันกลืน ๆ กัน
- ถ้าไม่ได้ต้องการความฉูดฉาดหวือหวา ประเภทไปงานเปิดตัวแฟชั่นแล้วหล่ะก็ หลีกเลี่ยงไทที่สีสันแสบตา
หรือสีอ่อนมาก ๆ เช่นสีขาว ในงานพิธีการทั่วไปแต่ก็ไม่ควรใส่ให้กลืน กันไปกับเสื้อผ้า จนไม่สามารถสังเกตเห็นไทได้เลย
- ถ้าเป็นไท มีลวดลาย สีพื้นของไท ควรจะ match กับสีของเสื้อสูท ในขณะที่ สีของลวดลาย ควรจะดึงความโดดเด่นของเชิ๊ตออกมา
- เนื้อผ้า/ลายของเนคไท ควรสอดคล้องกับเสื้อ shirt เช่น ถ้า ไทผ้าไหมที่มีความแวววาว ก็ควรจะใส่กับเสื้อผ้าไหมเช่นกัน
ไม่ใช่ใส่เสื้อผ้าไหมมันวับ กับไทขน wool
- ไทสีดำ ใช้สำหรับงานศพเท่านั้น ไม่ควรนำไทสีดำไปใช้ในงานอื่น ๆ
- ความกว้างมาตรฐานของไทจะอยู่ที่ 3.5 นิ้ว เป็นความกว้างมาตรฐานทั่วไป ที่ไม่ได้อิงตามแฟชั่น สามารถใส่ได้ทุกงาน
- ความกว้างของไท ควรจะกว้างเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับปกเสื้อนอก ถ้าปกเสื้อนอกกว้าง ไทก็ควรจะกว้างเช่นกัน
- ขนาดของปมไท ควรจะสัมพันธ์กับขนาดของคอปกเสื้อเชิ๊ต ถ้าติดกระดุมคอเสื้อแล้ว เหลือมุมคอปกแคบ ควรจะผูกไทปมเล็ก ๆ
ไม่ควรผูกให้ใหญ่จนดันคอเสื้อเผยอออกมา